วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560


ความหมายขององค์การ



องค์การ (Organization) หมายถึง การนำเอาส่วนต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันมารวมกันอย่างมีระเบียบหรือเป็นการรวมกลุ่มกันอย่างมีเหตุผลของบุคคลกลุ่มหนึ่งเพื่อเป็นศูนย์อำนวยการให้การดำเนินงานลุล่วงไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่มีลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ


มีผู้ให้คำนิยาม คำว่า "การจัดองค์การ" ไว้หลายท่าน ดังนี้
Edwin B.Flippo (1970) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ คือ ตัวบุคคลและหน้าที่การงาน เพื่อรวมกันเข้าเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้
Daniel Katz and Robert Kahn (1979) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับองค์การในลักษณะใหม่ โดยนิยาม องค์การว่าคือ ระบบเปิดที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีลักษณะเป็นการะบวนการต่อเนื่องที่ประกอบด้วยสิ่งนำเข้า (input) กระบวนการเปลี่ยนแปลง (transformation) และผลผลิต (output)
ธงชัย สันติวงษ์ (2537) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ คือ การจัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นกลุ่มก่อนเข้ารูป และการมอบหมายงานให้คนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้ การจัดองค์การจะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบความรับผิดชอบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนต่างฝ่ายต่างทราบว่า ใครต้องทำอะไร และใครหรือกิจกรรมใดต้องสัมพันธ์กับฝ่ายอื่นๆอย่างไรบ้าง
สมคิด บางโม (2538) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดแบ่งองค์การออกเป็น
หน่วยงานย่อยๆให้ครอบคลุมภารกิจและหน้าที่ขององค์การ พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์กับองค์กรย่อยอื่นๆไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

สรุปได้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่างๆ และบุคคลในองค์การ โดยกำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์การและบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ





การแบ่งประเภทของค์การ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. องค์การทางสังคม ครอบครัว สถาบันการศึกษาทุกระดับ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันศาสนา วัด ศูนย์ปฏิบัติธรรม สถาบัน กลุ่ม ชมรม มูลนิธิ ฯลฯ ที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการเฉพาะอย่างแต่มุ่งประโยชน์ในระดับสังคม
2. องค์การทางราชการ ทุกระบบที่เป็นส่วนราชการ ระดับกระทรวง ทบวง กรม
3. องค์การเอกชน เช่น บริษัทห้างร้านที่ตั้งขึ้นมาด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อมุ่งหากำไรเป็นสำคัญ ลักษณะขององค์การทางธุรกิจนั้น 


ลักษณะขององค์การ   
1. โครงสร้าง (structure) องค์การที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างองค์การที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน พนักงานอำนวยการมีอย่างจำกัด กระจายหน้าที่งานที่สำคัญ และสร้างทีมงานเพื่อรับผิดชอบ เน้นความกะทัดรัด และไม่เข้มงวดต่อกฎระบบ  
2. กลยุทธ์ (strategy) องค์การที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่จะมีความใกล้ชิดกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้า ชื่นชอบในการให้บริการ คุณภาพ และให้ความเชื่อถือองค์การ และทำธุรกิจในประเภทที่มีความชำนาญและเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจที่ทำอยู่เดิม และต้องพัฒนามิให้องค์การหยุดการเจริญก้าวหน้า
3. คนหรือพนักงาน (people) องค์การที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับพนักงาน ให้อิสระ ในการทำงานเพื่อให้โอกาสในการคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือวิธีการทำงานใหม่ ๆ และทำให้พนักงานรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการร่วมด้วย 
4. สไตล์การบริหาร (management style) องค์การที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่จะมีการบริหารงานที่สัมผัสกับงานอย่างใกล้ชิดโดยกำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะบรรลุในเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ 
5. ระบบและวิธีการ (systems & procedures) องค์การที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการปฏิบัติมากกว่าการวางแผน ให้พนักงานลงมือทำเพื่อนำไปสู่ความสร้างสรรค์
6. คุณค่าร่วม (guiding concepts & shared values) องค์การที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่จะให้ความเชื่อมั่นในคุณค่าที่มีอยู่ร่วมกัน เพื่อใช้เป็นแรงผลักดันให้ไปสู่เป้าหมาย โดยนำระบบคุณค่ามาใช้เพื่อบันดาลใจให้พนักงานใช้ความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่
7. ฝีมือ (skills) องค์การที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่จะเข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน พนักงานสามารถสับเปลี่ยนหรือโยกย้ายหน้าที่เพื่อทำงานแทนกันได้

องค์ประกอบขององค์การ มีดังนี้
1. กลุ่มบุคคล
2. มีเป้าหมายร่วมกัน
3. การกำหนดหน้าที่
4. การแบ่งงานความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ส่วนประกอบขององค์การ
 1. สายการบังคับบัญชา
 2. การสื่อสารตามสายงาน
 3. เอกภาพในการบังคับบัญชา
 4. ขอบเขตของการบังคับบัญชา
 5. การแบ่งงานตามความรู้ความสามารถ
 6. การมีเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายหลัก ๆได้แก่ เจ้าหน้าที่หลักรับผิดชอบงานในหน้าที่
ให้สําเร็จตามเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ฝ่ายให้คําปรึกษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน
 7. การแบ่งอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
8. การประสานงาน


เป้าหมายขององค์การ (Organization Goal)
องค์การเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์มีความมุ่งมั่นที่จะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุความสำเร็จ จึงได้มีการรวมกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถต่างกันมาดำเนินกิจกรรมให้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ถ้าจะกล่าวโดยสรุป เป้าหมายขององค์การ คือจุดหมายปลายทางที่กำหนดขึ้นเพื่อจัดสรรทรัพยากรและกิจกรรมต่างๆ ขององค์การให้เอื้ออำนวยประโยนช์ต่อทิศทางสุดท้ายที่กำหนดไว้ในองค์การนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความคิดเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์การในกลุ่มต่างๆ อาทิเช่น กลุ่มเศรษฐศาสตร์มีปัญหาว่า เป้าหมายสุดท้ายขององค์การธุรกิจนั้นควรจะเป็นการก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุด หรือเพื่อประโยชน์สุขของสังคม สำหรับกลุ่มสังคมวิทยาก็มีแนวความคิดว่าองค์การรูปนัยนั้นควรจะนำมาศึกษาในแง่ที่ เป็นสถาบันอันซับซ้อน ประกอยด้วยวิวัฒนาการของเป้าหมายหลายอย่าง และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง หรือในแง่ที่เป็นเครื่องมือเพื่อใช้นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดขึ้นอย่างมีเหตุผล ส่วนกลุ่มนักทฤษฎีองค์การกล่าวว่า องค์การเป็นสิ่งที่กำหนดเป้าหมายและเป้าหมายเป็นสิ่งที่กำหนดโครงสร้างและหน้าที่ขององค์การ ความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายขององค์การคือ
1.เป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมขององค์การ เพราะในเป้าหมายขององค์การจะมีการระบุสิ่งที่จะต้องดำเนินการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย
2.เป็นการอำนวยความถูกต้องตามระเบียบแบบแผนหรือกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานขององค์การ
3.เป็นมาตรฐานที่สมาชิกในองค์การและคนนอกองค์การสามารถใช้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การนั้น (สาปราชญ์ จอมเทศ 2516) สิ่งที่ผู้จัดการควรได้ตระหนักก็คือในองค์การมีทั้งเป้าหมายขององค์การ เป้าหมายของบุคคลหรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า องค์การย่อมมีเป้าหมายทั้งที่เป็นเป้าหมายส่วนรวม และเป้าหมายส่วนตัว ฉะนั้น การที่ให้องค์การมีประสิทธิภาพและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไปได้ด้วยดีนั้น ย่อมขึ้นกับความสามารถของผู้จัดการ ในการหาแนวทางที่ทำให้เป้าหมายของบุคคลมีความสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การให้ได้ หรือทำให้มีการขัดแย้งกันน้อยที่สุด




ขอขอบคุณ : www.im2market.com
สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560














การจัดการงานอาชีพ

ความหมายของอาชีพ                         อาชีพ  คือการทำมาหากินของมนุษย์  เป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของคนในสังคม  และทำให้ดำรงอาชีพในสังค...