นักทฤษฎีองค์การทั้งหลายพยายามที่จะออกแบบองค์การ
เพื่อรวบรวมเอาพนักงานทั้งหลายขององค์การที่จะต้องทำงานร่วมกัน และมีความจำเป็นที่จะต้องประสานงาน เพื่อให้งาน ได้รับมอบหมายบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
ซึ่งการจัดองค์การถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการบริหารการจัดการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบางอย่างไม่สามารถทำเพียงคนเดียวได้ หลาย ๆ คนจำต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า “ องค์การ ”
ดังที่ CHESTER I BARNARD
กล่าวว่า
องค์การเป็นระบบของการร่วมมือร่วมใจของมนุษย์
ดังนั้น การจัดองค์การก็เพื่อให้โครงสร้างของกลุ่มคน และกลุ่มตำแหน่งงานต่าง ๆ
ที่จะไปรองรับกับแผนงานที่กำหนดไว้
และเป็นโครงสร้างที่จัดขึ้น
เพื่อประสานให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ดี
ช่วยลดความซ้ำซ้อนผู้บริหารจึงจำเป็นต้องจัดองค์การให้มีลักษณะที่สมดุลเพื่อประโยชน์ขององค์การ
ความหมายของการจัดองค์การ
การจัดองค์การหมายถึง กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงานของบุคลากร
ความสัมพันธ์ระหว่างงานประเภทต่างๆ สายงานการบังคับบัญชา
อย่างชัดเจนที่ผู้บริหารและผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กำหนด เพื่อใช้เป็นกรอบ และทิศทางให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติเพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การด
าเนินได้อย่างชัดเจน มีระเบียบและมีแบบแผน
1. นโยบายที่ชัดเจน
2. มีการแบ่งงาน
4. มีสายการบังคับบัญชา
5. มีเอกภาพในการบังคับบัญชา หรือมีผู้บังคับบัญชาเพียงคน
6. ช่วงของการควบคุม
7. การประสานงาน
8. การยืดหยุ่น
9. ความต่อเนื่อง
การจัดองค์การ (Organizing) คือ การจัดระเบียบกิจกรรมต่าง ๆ
ในองค์การ และมอบหมายงานให้คนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การจัดองค์การที่ดี
จะช่วยให้การบริหารการจัดการมีประสิทธิภาพได้เนื่องจาก
3. ช่วยประสานงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้ดี
4. ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างพนักงานในองค์การได้
5.
สามารถแสดงให้เห็นตัวภาระหน้าที่ความรับผิดชอบได้ชัดเจน
6. ทำให้มีระบบการสื่อสารตามสายการบังคับบัญชาที่ดี
ความสำคัญของการจัดองค์การ
1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงกระแสการไหลของงาน
2. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงขอบเขตของงาน
3. เป็นกรอบที่เชื่อมโยง การทุ่มเทความพยายาม
ที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการวางแผน และการควบคุมไปสู่ผลสำเร็จ
4. จัดวางช่องทางเพื่อการติดต่อสื่อสาร และการตัดสินใจ
5. ป้องกันการทำงานที่ซ้ำซ้อน
และขจัดข้อขัดแย้งในหน้าที่การงาน
6. ช่วยให้มองภาพความสัมพันธ์ระหว่างงาน ผู้ปฏิบัติงาน
และเป้าหมายขององค์การ
การจัดองค์การ (organizing) คือการตัดสินใจเลือกวิธีการในการจัดแบ่งกลุ่มกิจกรรมและทรัพยากรต่าง ๆ
ขององค์การออกเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ
เพื่อให้การประสานงานระหว่างกลุ่มกิจกรรมและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ความสำคัญของการจัดองค์การ
1. การจัดองค์การเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนความสำเร็จขององค์การ
เนื่องจากการจัดองค์การเป็นงานที่ผู้บริหารใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดว่าใครจะทำอะไร
ใครจะอยู่แผนกไหน ใครจะต้องรับผิดชอบและรายงานต่อใคร ซึ่งการจัดองค์การนั้นเสมือนเป็นการกำหนดว่าจะทำอย่างไร
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
โดยการจัดองค์การนั้นยังรวมถึงกลไกการประสานงาน
เนื่องด้วยในองค์การหนึ่ง ๆ
จะต้องมีการแบ่งงานและประสานงานกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง เช่น
การประสานงานระหว่างแผนกผลิตกับแผนกขาย ซึงอาจเป็นในกรณีที่แผนกผลิตต้องติดต่อขอข้อมูลกับฝ่ายขายก่อนว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นมานั้นการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างไร
ถ้าฝ่ายขายบอกว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างมาก
ซึ่งข้อมูลที่ได้มาแผนกผลิตก็จะสามารถวางแผนได้ว่าควรผลิตในปริมาณเท่าใด
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน
เนื่องจากองค์การทุกองค์การจะต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ซึ่งประสิทธิภาพนั้น
จะกล่าวถึงในเรื่องของใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ซึ่งบางครั้งอาจไม่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
ส่วนในเรื่องของประสิทธิผล
กล่าวได้ว่าเป็นความพยายามขององค์การในการทำให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์การคือ
ประสิทธิผล ซึ่งการที่จะเกิดประสิทธิผลได้นั้น
เราไม่ได้มองในมุมของการใช้ทรัพยากรหรือคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
แต่เราจะเน้นไปที่จะทำอย่างไร ให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งไว้
3. ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน
เนื่องจากการจัดองค์การเป็นการกำหนดว่าในองค์การใดองค์การหนึ่งควรแบ่งออกเป็นกี่แผนก
เมื่อมีการแบ่งแผนกได้แล้วในขั้นตอนต่อไปจะเป็นเรื่องของการกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
เช่น ใครอยู่แผนกไหน หน้าที่งานคืออะไร
ใครเป็นผู้รับผิดชอบหรือใครคือผู้บังคับบัญชาในแผนกนั้น ซึ่งผลดีก็คือ
ผู้บริหารสามารถมอบหมายงานได้ง่ายขึ้น
4. การจัดองค์การที่ดีช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทำงานตามความถนัดหรือตามความเหมาะสม
เช่นจากการจัดองค์การ องค์การจะต้องมีการแบ่งแผนกงาน และจัดคนลงไปทำงานในแต่ละแผนก
ซึ่งการจัดคนไปในแต่ละแผนกนั้น ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความรู้
ความสามารถและประสบการณ์ เพื่อในการจัดคนให้เหมาะสมกับงาน
ถ้าผู้บริหารสามารถจัดคนให้เหมาะสมกับงานองค์การก็จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำงานของพวกเขาเหล่านั้น
หลักการจัดองค์การที่ดี
1. หลักวัตถุประสงค์
องค์การทุกองค์การต้องกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ในการทำงานซึ่งวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดทิศทางว่าองค์การจะทำอะไร
/ บุคลากรในองค์การจะทำอะไร / อย่างไร ให้บรรลุวัถุประสงค์ของการดำเนินงาน
2. หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง
หลักของการจัดองค์การที่ดีจะต้องจัดคนให้เหมาะสมกับงาน โดยต้องพิจารณาจากความรู้
ความสามารถ ความถนัดและประสบการณ์ในการทำงาน
3. หลักประสานงาน ในการทำงานในองค์การหนึ่ง ๆ นั้น
การทำงานจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี บุคลากรในองค์การจะต้องทำงาน
โดยมีการประสานงานกันในแต่ละฝ่ายและแต่ละแผนก
เช่นแผนกผลิตจะต้องประสานงานกับแผนกขาย เพื่อทั้ง 2
แผนกต้องใช้ข้อมูลร่วมกันว่าสินค้าที่แผนกผลิต ผลิตออกมานั้น
เมื่อฝ่ายขายนำไปจำหน่ายนั้นตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือไม่
หรือควรจะมีการปรับปรุงในเรื่องใดบ้าง
ซึ่งแผนกขายก็ต้องนำเสนอข้อมูลนี้ต่อแผนกผลิต เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการทำงาน
4. หลักการกำหนดตำแหน่งหน้าที่
องค์การจะกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรทุกคนในองค์การไว้อย่างชัดเจน
5. หลักความรับผิดชอบ
ตามหลักความรับผิดชอบนั้น ความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่มอบหมายไม่ได้ดังนั้น
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งงาน / สั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ
เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ผู้บังคับบัญชาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
6. หลักการบังคับบัญชา
หมายถึงความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการตามลำดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์การหนึ่ง
ๆ
ตามลำดับขั้นของการบังคับบัญชานั้นจะแสดงถึงขอบเขตของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
รวมทั้งการวินิจฉัยสั่งการในตำแหน่งต่าง ๆ
7. หลักการติดต่อสื่อสาร องค์การทุก ๆ
องค์การจะต้องมีระบบและเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว
สามารถตอบสนองต่อภาวะการแข่งขันในยุคปัจจุบันได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที
8. หลักการควบคุม คือ จำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่เหมาะสม ต่อผู้บังคับบัญชา 1 คน
9. หลักความสมดุล คือ
ความสมดุลในการจัดปริมาณงานให้เหมาะสม
10. หลักความต่อเนื่อง การทำงานในองค์การหนึ่ง ๆ ควรจัดให้มีการทำงาน /
บริหารงานกันอย่างต่อเนื่องเพราะถ้ามีการหยุดหรือชะงักจะโดยสาเหตุใดก็ตาม
อาจมีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์การ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น