การพัฒนางาน
การพัฒนางาน คือ การเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงวิธีการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะการแก้ปัญหาต่อฝ่ายบริหาร
ขอบข่ายที่ดำเนินการนี้ก็คือ กิจกรรมภายในองค์การ (Organizational Sphere) มโนทัศน์ว่าด้วยการพัฒนา
คุณภาพงานมีพื้นเพเดิมมาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อการแก้ปัญหา คุณภาพของการผลิต
และตั้งแต่นั้นมาก็ได้นำเอาแนวความคิดของการพัฒนาคุณภาพงานมาใช้กับลักษณะอื่น ๆ
ของงานการบริหารทั่วโลก แต่โดยความจริงแล้ว
การพัฒนาคุณภาพงานนี้เดิมมีชื่อเรียกว่า กลุ่มควบคุมคุณภาพงาน (Quality Control Circle) จุดหมายเบื้องต้นของการพัฒนาคุณภาพงาน ก็คือ
ขอบข่ายของผลสัมฤทธิ์ของคุณภาพงาน อย่างไรก็ตาม การทำให้คุณภาพงานสัมฤทธิ์ผลนั้น
มีหลายรูปแบบ กล่าวคือมีตั้งแต่พฤติกรรมของพนักงานจนถึงความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน
นอกจากนี้ผลสัมฤทธิ์ในคุณภาพงานอาจจะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีหรือไม่ใช้ก็ได้ไม่ว่าจะเป็นกิจการธนาคารหรือการผลิตการพัฒนาคุณภาพงานได้ถูกนำมาใช้ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล
ปัจจัยในการพัฒนาทำงาน
-
ปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น
-
ปรับปรุงวิธีการใช้เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์
ตลอดจนสถานที่ ทำงาน
-
ปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้เหมาะสมขึ้น
-
ปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพง่ายต่อการผลิต
และต้นทุนต่ำ
-
ปรับปรุงโดยการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตามที่แปรรูปได้ง่ายและราคาไม่แพง
หลักการพัฒนางานสถานที่ทำงาน
-
การจัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของอย่างมีประสิทธิภาพ
-
การใช้เครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
-
การจัดรูปแบบของงานให้ผลออกมาเหมาะสม
-
การวิเคระห์ระบบงานและจัดสถานที่
-
การพัฒนาสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์การจัดระบบงานและการจัดสถานที่
-
ระบบงานที่ต้องทำบ่อยๆควรจะออกแบบวัสดุและอุปกรณ์ให้อยู่ใกล้กับคนทำงานในระบบที่เหมาะสมที่สุดและใช้งานสะดวกที่สุดเพื่อที่จะทำงานได้เร็วและไม่เมื่อยล้า
-
ระบบงานที่ทำตามหน้าที่การใช้งาน ออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
-
ระบบงานที่ต้องทำตามลำดับขั้นตอน การออกแบบต้องคำนึงถึง
การหยิบใช่งานได้อย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอนการทำงานก่อนหลัง
สภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยและไม่เหมาะสมในการทำงาน
ดังนี้
1.
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงของคนเช่นแสงสว่างความสั่นสะเทือนเสียงและอากาศอุณหภูมิ
2.
สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ที่เกิดจากการได้รับเชื้อที่มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ พืช
หรืออาการติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรียเชื้อรา
รวมทั้งความชื้นหรือความแออัดคับแคบจากสถานที่ทำงาน
3. สิ่งแวดล้อมทางเคมี
เกิดจากการทำปฎิริยาทางเคมีของสสารต่างๆ เช่น แก๊ส เขม่า ควันไฟ ฝุ่นโลหะ
สารเคมีอื่นๆ
4.
สิ่งแวดล้อมการจัดสภาพงาน ที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของคนงาน เช่น
สภาพการทำงานที่ซ้ำซากจำเจ
ความเบื่อหน่ายต่อการทำงานความกังวลและปัญหาต่างๆในหน่วยงานเป็นต้น
องค์ประกอบสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน
1. สุขภาพและความปลอดภัยภายในองค์กร
2. ทำงานติดต่อหะนเป็นเวลานานจะทำให้เกิดสูญเสียความสนใจ
เหนื่อยหน่าย เมื่อยล้า
3. สภาพอุณภูมิและภูมิอากาศ
5. แสงสว่างมากหรือมืดจนเกินไป
6. เสียงและความสั่นสะเทือน
7. อัคคีภัยและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากไฟฟ้า
การพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงาน
1. จัดตั้งองค์กรเพื่อสุขภาพและเพิ่มความปลอดภัยต่อคนภายในองค์กร
2. การจัดเวลาการทำงานให้เหมาะสม
4. การกำจักหรือแยกแหล่งกำเนิดสารมลพิษต่างๆ
5. การปรับปรุงพื้นอาคารให้มีความสุมดุลและเหมาะสม
6. วางผังสถานที่ทำงานให้มีความยืดหยุ่นและดัดแปลงได้ง่าย
ประโยชน์ของการพัฒนางาน
1. เพื่อช่วยให้พนักงานและองค์การบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้ร่วมกัน เพื่อที่จะให้มีการจัดและกำหนดแผนการเติบโตของพนักงานแต่ละคน ที่จะมีโอกาสสำเร็จผลในการทำงานตามเป้าหมายต่าง
ๆ ขององค์กรได้สำเร็จ

3. ช่วยลดความล้าสมัยของพนักงานแต่ละคน
เมื่อพนักงานทำงานไปนานๆ ในจุดใดจุดหนึ่ง
โดยไม่มีการโยกย้ายนั้น มักจะทำให้คนนั้นล้าสมัยกลายเป็นคนแคบ
ขาดทัศนคติที่กว้างหรือขาดประสบการณ์ในหน้าที่งานอื่นๆ และหลายๆด้าน
สาเหตุส่วนใหญ่อาจจะเกิดขึ้นจากการขาดการฝึกอบรมก็เป็นได้
4. ช่วยลดอัตราการลาออกและต้นทุนด้านบุคคล
จากการศึกษาของผู้ชำนาญการด้านการบริหารงานบุคคล ได้พบว่าถ้าหากองค์การได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้และได้ช่วยพนักงานของตัวในการวางแผ่นเกี่ยวกับอาชีพแล้ว ผลประโยชน์ที่พลอยได้ที่สำคัญก็คือ ได้มีส่วนในการช่วยลดการลาออกของพนักงาน
หลักการ 4 สร้าง
หัวหน้างานและผู้บริหาร
ต้องเข้าใจกันให้ชัดเจนก่อนนะครับว่า อะไรคือ หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility) ของหัวหน้างาน
ที่มีต่อองค์กรที่ตนเองทำงานรับเงินเดือนค่าตอบแทนอยู่บ้าง ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอยู่
4 หมวด ใหญ่ๆ คือ 1) สร้างคน 2) สร้างทีม 3) สร้างงาน และ 4)
สร้างคุณค่าต่อสังคม
1) สร้างคน
หัวหน้างานต้องเข้าใจข้อเท็จจริงที่สำคัญประการหนึ่งว่า
“ไม่มีใครเก่งมาแต่เกิด” แม้แต่ตัวเราเอง ทุกคนจะผ่านกระบวนการหล่อหลอมที่เหมือนกัน และ
แตกต่างกันมาในหลายมิติ พนักงานใหม่ที่จบเกียรตินิยมอันดับ 1
เข้ามาทำงานในหน่วยงานของเรา ก็ไม่ได้หมายความว่า
น้องใหม่คนนี้จะเก่งไปเสียทุกเรื่อง
น้องใหม่มีพื้นฐานดีในความรู้ทางวิชาการที่เรียนมา แต่ ประสบการณ์ชีวิตและการทำงาน
ต้องอาศัยพี่ๆ หัวหน้างานในการบอกสอนเขา การสอนงานจึงเป็นหน้าที่สำคัญอันดับแรกของ
หัวหน้างาน คำถามก็คือ จะสอนงานอย่างไร ให้ลูกน้องของเราเข้าใจ เป็นหัวหน้างานต้องอย่าเบื่อที่จะสอนงาน
ลูกน้องบางคนหัวไวเรียนรู้เร็วเราอาจชอบใจ แต่บางคนอาจจะต้องใช้เวลาในการอธิบาย
ซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็อย่าไปหงุดหงิดใส่เขา อย่าไปว่าเขา อย่าไปบั่นทอนกำลังใจเขา
ให้สอนด้วยความเมตตา คิดดีว่า สอนบ่อยๆ เราก็จะชำนาญขึ้น
เราก็จะได้มีโอกาสพัฒนาเทคนิคการสอนแบบใหม่ขึ้นมาอีก ลูกน้องมีความรู้ความเข้าใจในขอบเขต
หน้าที่ วิธีการทำงานที่ถูกต้องของตนเองแล้ว หน้าที่ของหัวหน้างานในการสร้างคน
ประการต่อมาก็คือ การประเมินผลงาน ในฐานะหัวหน้างาน เรามักจะคุ้นเคยกับ
การประเมินผลงานเพื่อพิจารณาความดีความชอบ ใครทำงานถูกใจเราก็ให้คะแนนประเมินเยอะๆ
เพื่อจะได้ขึ้นเงินเดือนหรือได้โบนัสประจำปีเยอะๆ ให้รางวัลเพื่อเอาไว้เป็นพวกเราว่าฉันนี้มีบุญคุณกับเธอนะ
แต่คนไหนทำงานไม่ถูกใจ เราก็กดคะแนน ฉันเกลียดมัน ไม่ชอบหน้ามัน เอาคะแนนไปน้อยๆ
แกล้งมัน แบบนี้ต้องบอกว่าเป็นหัวหน้าที่ใช้ไม่ได้
2) สร้างทีม
หน้าที่ของหัวหน้างานที่เป็นหลักใหญ่ประการที่สองก็คือ
การสร้างทีม ทำทุกวิถีทางที่จะทำให้สมาชิกในทีม ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข
ไม่ขัดแย้ง ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่แก่งแย่งชิงดี ชิงเด่น หรือ เกี่ยงกันทำงาน
แล้วถ้ามีลูกน้องแค่คนเดียวล่ะ ก็ต้องสร้างความเป็นทีมระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้องนั่นล่ะครับ
สร้างทีมเริ่มต้นด้วย การจูงใจ
จูงใจให้สมาชิกในทีมทำงานร่วมกัน เริ่มต้นจาก
การจูงใจให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ไม่ต้องกลัวว่า
จะเป็นความเห็นที่ไม่เข้าท่า เสียเวลา แต่ทุกความเห็นต้องถูกฝึกให้เรียนรู้ว่า
ต้องไม่เป็นความเห็นที่เลื่อนลอย พูดแบบขอไปที หรือ
เป็นความเห็นที่ไปทำร้ายจิตใจของเพื่อนร่วมทีม
ต้องจูงใจให้สมาชิกในทีมเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม
ผลงานที่ได้ออกมาเป็นผลงานของทีม ที่ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ไขปัญหา
ไม่มีมนุษย์จอมพลังเพียงคนเดียว แต่เป็นพลังของทุกคนในทีม
รางวัลที่องค์กรมอบให้สำหรับความสำเร็จ ก็ควรจะให้เป็นทีม ไม่ควรให้รางวัลเป็นรายบุคคล
3) สร้างงาน
หัวหน้างานจะถูกคาดหวังจากผู้บริหาร
และเจ้าของกิจการว่า
ต้องเป็นผู้ที่สามารถนำพาทีมงานในการสร้างผลงานให้กับบริษัทได้
ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพสูงในขอบเขตงานที่รับผิดชอบ
รวมไปถึงรายได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ในแต่ละปี
องค์กรธุรกิจที่ดีจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของธุรกิจ ว่าต้องมีปริมาณสินค้า หรือ
บริการที่จะออกจำหน่ายสู่ตลาดเป็นจำนวน และ มูลค่าเท่าใด
เพื่อให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของกิจการ และมีกำไรสะสมเป็นเงินสดสำรองไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
งานจะบรรลุเป้าหมายได้ หัวหน้างานจำเป็นต้องวางแผนงาน
ซึ่งจะถูกกำหนดขอบเขตไว้ด้วย เป้าหมาย กรอบของระยะเวลา และ ทรัพยากรที่มีอยู่
ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร เครื่องมือ และงบประมาณ
บางองค์กรอาจมีทรัพยากรอยู่ในปริมาณจำกัด ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของหัวหน้างานมากขึ้นไปอีก
4) สร้างคุณค่าต่อสังคม
เป้าหมายของธุรกิจ
คือ การทำกำไรเพื่อตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น และสะสมกำไรไว้เพื่อใช้ในการขยายกิจการ
และสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน แต่ถ้าหากธุรกิจมุ่งเน้นแต่กำไรเพียงอย่างเดียว
โดยไม่สนใจสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม มุ่งทำธุรกิจโดยเอาเปรียบสังคม
สุดท้ายธุรกิจนั้นก็จะเป็นที่รังเกียจของสังคม และไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
บทบาทสำคัญของธุรกิจนอกเหนือจากบทบาททางด้านเศรษฐกิจ
ที่ต้องทำกำไร สร้างความเติบโตของธุรกิจเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแล้ว
อีกบทบาทสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือ บทบาทในการทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี
ช่วยดูแล และแก้ไขปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม
ขอขอบคุณ : www.lms.rmutsb.ac.th
https://phongzahrun.wordpress.com/2015/08/16 /แนวคิดการพัฒนาหัวหน้าง/
สืบค้นเมื่อ : 20 ธันวาคม 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น